คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558
สช.แนะใส่ “การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือเอชไอเอ” ในรัฐธรรมนูญใหม่ด้วย พร้อมหนุนสร้างเครือข่ายนักวิชาการ-ให้ความรู้สังคม
เมื่อวันที่ 27 มกราคม ที่โรงแรมเอเชีย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ สถานบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการแถลงข่าวหัวข้อ “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ในกระแสปฎิรูป” โดยมี ผศ.กร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ กล่าวว่า การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ถือเป็นกระบวนการและเครื่องมือกำหนดนโยบายสาธารณะ ขณะเดียวกัน ก็เป็นเครื่องมือที่ไปช่วยปกป้องสิทธิของชุมชนซึ่งพัฒนาเอชไอเอ มาตั้งแต่ปี 2543 จนกระทั่งปี 2550 มี พ.ร.บ. สุชภาพแห่งชาติ ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ในสิทธิชุมชน สิทธิของบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จะขอข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากนโยบาย แผนโครงการ กิจกรรมต่างๆ ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจ ว่าโครงการหรือกิจกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบก็มีสิทธิจะร้องขอให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ขณะเดียวกัน สช.ได้ตั้งหน่วยงานขึ้น มาตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ และกำหนด หลักเกณฑ์ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ที่ผ่านมาก็พบปัญหาที่สำคัญมากต่อการพัฒนาคือ เรื่ององค์ความรู้และเรื่องของคนที่มีทักษะ มีความชำนาญ เนื่องจากการประเมินจะต่างกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ได้พยายามจัดให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการประชุมการเอาความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของคน
ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ควรจะมีสาระสำคัญ บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ คือ การกำหนด นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน การดำเนินโครงการ กิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ประชาชน ในด้านคุณภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อม จะทำไม่ได้ เว้นแต่ศึกษาและประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็ฯข้อบัญญัติควรที่จะมีอยู่ นอกจากนี้ควรจะผลักดันให้นำไปใช้ได้ในระดับของการกำหนดนโยบายสาธารณะด้วย
นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการ พัฒนาระบบประเมินผลกระทบทางสุขภาพกล่าวว่า เราพยายามสร้างระบบและกลไก เข้าไปอยู่การทำงานด้านนโยบายของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ที่มีอำนาจและงบประมาณ แต่เราต้องคุยให้เขาไปใช้ในระบบ ดังกล่าว ขณะเดียวกันต้องสร้างระบบกลไกให้ภาคประชาชนและภาคเอกชน ให้ใช้ได้เท่าเทียมกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าเจอการขรุขระของการใช้ระบบดังกล่าวอยู่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงความล้มเหลว แต่ต้องค่อยๆ แก้ไขและปรับปรุงกันต่อไป
นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ทุกวันนี้เราพบว่าปัญหามีมาก อีกทั้งไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญที่จะอกมาสามารถปฎิบัติได้ทันทีหรือไม่ แต่เป้าหมายสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมคือ ทุกภาคส่วนจะต้องมาร่วมกันพัฒนานโยบาย หรือข้อตกลงร่วม และสิ่งที่ สช.จะสนับสนุน คือ สร้างเครือข่ายนักวิชาการ เพื่อสร้างความรู้ให้กับสังคม และสช.ยินดีจะเป็นตัวเชื่อมให้เกิดแลกเปลี่ยนความรู้กัน
หมวดหมู่
- คสช. (61)
- งานส่งเสริมสิทธิ (228)
- จักรยาน (2)
- ทั่วไป (447)
- ธรรมนูญสุขภาพ (1,167)
- 3 กองทุนสุขภาพ (179)
- การเข้าถึงยา (202)
- กำลังคน (257)
- ธรรมนูญพื้นที่ (11)
- บีโอไอ (7)
- ระบบประกันสุขภาพ (300)
- แพทย์แผนไทย ยาไทย (54)
- FTA (26)
- Medical Hub (83)
- ปฏิรูปประเทศไทย (129)
- ระบบสุขภาพ (48)
- สช.เจาะประเด็น (10)
- เขตสุขภาพ (77)
- แถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 (9)
- HA (1,591)
- 1 ทศวรรษสมัชชา (16)
- การจัดการน้ำ (39)
- ความเหลื่อมล้ำ (6)
- จักรยาน (3)
- ฉลากขนม (39)
- ตรวจสุุขภาพ (25)
- ท้องไม่พร้อม (88)
- นาโนเทคโนโลยี (3)
- นโยบายนักการเมือง (25)
- บุหรี่/ยาสูบ/เหล้า (128)
- ประชุมสมัชชาฯปี55 (20)
- ประธานคจ.สช. (25)
- พรบ.คุ้มครองฯ (71)
- ภัยพิบัติ (50)
- ยาฆ่าแมลง (40)
- หมอกควัน (4)
- อาหารปลอดภัย (76)
- อ้วน/น้ำหนักเกิน (21)
- เด็กเล็ก (57)
- แถลงข่าว NHA 55 ประเด็น สวล. (1)
- แรงงานนอกระบบ (89)
- แร่ใยหิน (409)
- แถลงข่าว_แกรนด์ไชน่า (13)
- NHA57 (30)
- HIA (323)
- ถ่านหิน (36)
- มาบตาพุด (25)
- หวยออนไลน์ (1)
- อาเซียน (3)
- อุตสาหกรรมขยะของเสีย (18)
- เหมืองทองคำที่เลย (12)
- เหมืองแร่เลย (36)
- แผนพัฒนาภาคตะวันออก (2)
- โรงไฟฟ้า ชีวมวล (52)
- PHA (52)
- sirnet (17)