บ้านเมือง ฉบับวันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2558
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกเพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตระบบสุขภาพส่งมอบให้ลูกหลานของเรา หัวข้อ “แนะนำการประชาเสวนาหาทางออกในการกำหนดอนาคตระบบสุขภาพไทยที่เราต้องร่วมกันกำหนด” ที่โรงแรมเอบีน่า เฮาส์ ถนนวิภาวดีรังสิต ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ : ทบทวนผลการประชาเสวนารายกลุ่มจังหวัดใน 4 กลุ่มจังหวัด ที่ผ่านมา
ดร.ทิพิชา โปษยานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิชาการและจัดการความรู้ สช. สรุปหัวข้ออนาคตระบบสุขภาพไทยกับประชาชนที่เข้าร่วมการเสวนาจากตัวแทน 4 ภาคทั่วประเทศทั้งหมด 100 คน จำนวน 6 หัวข้อ ประกอบด้วย 1.การบริการและสุขภาพ 2.การเกษตรและอาหาร 3.กฎหมายและ พ.ร.บ. 4.การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 5.กองทุนต่างๆ และ 6.คนไทยมีสุขภาพและจิตใจดี โดยหัวข้อการบริการและสุขภาพ มีข้อเสนอในหลักความเสมอภาคเท่าเทียม โดยรวมกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นกองทุนเดียว ส่วนหัวข้อการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรนั้น มีข้อเสนอให้ส่งเสริมและให้มีการจ่ายยาแผนไทยควบคู่กับยาแผน ปัจจุบัน
สำหรับการแบ่งกลุ่มย่อยในคำถาม “อะไรคือทางออกของประเทศไทยด้านสุขภาพ และทำไมจึงคิดว่าสิ่งนั้นคือทางออก” โดยภาคประชาชนถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย 1.การเกษตรและอาหาร 2.กฎหมายและ พ.ร.บ. 3.การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 4.กองทุนต่างๆ และ 5.คนไทยมีสุขภาพกายและจิตใจดี ส่วนหัวข้อสำคัญเรื่อง “การบริการและสุขภาพ” ทีมวิชาการได้ส่งให้เป็นหัวข้อหลักที่ทุกกลุ่มต้องนำไปพูดคุยนอกเหนือจากหัว ข้อที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามได้มีฉันทามติความเห็นทุกกลุ่มส่วนใหญ่ในหัวข้อ “การบริการและสุขภาพ” พบว่า ภาคประชาชนต้องการดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน อาทิ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การใช้บัตรประชาชนหรือเลข 13 หลักเพื่อเข้าใช้บริการได้ การใช้บริการบัตรประกันสังคมไม่จำกัด การให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้านกองทุน หรือการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ช่วยเลขาธิการ สช. กล่าวชื่นชมทุกคนที่มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยทุกคนสามารถนำข้อมูลกลับไปพัฒนาท้องถิ่น หรือสามารถเป็นเครือข่ายของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้าในทุกจังหวัด เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้เช่นกัน เวทีครั้งนี้จึงเป็นโอกาสในการทำธรรมนูญสุขภาพสำหรับพื้นที่ด้วย ส่วนข้อมูลที่มีการนำเสนอแล้วนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาทิศทางของสุขภาพไทย เพื่อให้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเป็นการใช้พลังแนวราบอย่างสร้าง สรรค์ในการสร้างพลังร่วมกันในสังคมต่อไป
ขณะที่ ดร.สุรเดช เดชคุ้มวงศ์ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ และรองประธานกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบว่าสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 กล่าวว่า ธรรมนูญสุขภาพที่จะออกแบบมาจะต้องมาฟังเสียงประชาชน เพราะสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ซึ่งได้มาดูสิ่งที่ทุกคนเขียนทั้งหมดก็เห็นว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์และดี มาก โดยจะนำข้อมูลไปสู่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อไปยกร่างและฟังเสียง ประชาชนอีกครั้ง ทำให้เวทีจะไม่จบในวันนี้ เพราะจะมีความคืบหน้าเรื่องธรรมนูญสุขภาพที่จะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนตุลาคม วันนี้อย่ารอความหวังจากอำนาจรัฐอย่างเดียว แต่ต้องใช้พลังเครือข่ายของพวกเราทุกคน เพื่อการกลับไปของทุกคนวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ชุมชนเราให้ประเทศไทยเดิน ต่อไปได้
หมวดหมู่
- คสช. (61)
- งานส่งเสริมสิทธิ (228)
- จักรยาน (2)
- ทั่วไป (447)
- ธรรมนูญสุขภาพ (1,167)
- 3 กองทุนสุขภาพ (179)
- การเข้าถึงยา (202)
- กำลังคน (257)
- ธรรมนูญพื้นที่ (11)
- บีโอไอ (7)
- ระบบประกันสุขภาพ (300)
- แพทย์แผนไทย ยาไทย (54)
- FTA (26)
- Medical Hub (83)
- ปฏิรูปประเทศไทย (129)
- ระบบสุขภาพ (48)
- สช.เจาะประเด็น (10)
- เขตสุขภาพ (77)
- แถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 (9)
- HA (1,591)
- 1 ทศวรรษสมัชชา (16)
- การจัดการน้ำ (39)
- ความเหลื่อมล้ำ (6)
- จักรยาน (3)
- ฉลากขนม (39)
- ตรวจสุุขภาพ (25)
- ท้องไม่พร้อม (88)
- นาโนเทคโนโลยี (3)
- นโยบายนักการเมือง (25)
- บุหรี่/ยาสูบ/เหล้า (128)
- ประชุมสมัชชาฯปี55 (20)
- ประธานคจ.สช. (25)
- พรบ.คุ้มครองฯ (71)
- ภัยพิบัติ (50)
- ยาฆ่าแมลง (40)
- หมอกควัน (4)
- อาหารปลอดภัย (76)
- อ้วน/น้ำหนักเกิน (21)
- เด็กเล็ก (57)
- แถลงข่าว NHA 55 ประเด็น สวล. (1)
- แรงงานนอกระบบ (89)
- แร่ใยหิน (409)
- แถลงข่าว_แกรนด์ไชน่า (13)
- NHA57 (30)
- HIA (323)
- ถ่านหิน (36)
- มาบตาพุด (25)
- หวยออนไลน์ (1)
- อาเซียน (3)
- อุตสาหกรรมขยะของเสีย (18)
- เหมืองทองคำที่เลย (12)
- เหมืองแร่เลย (36)
- แผนพัฒนาภาคตะวันออก (2)
- โรงไฟฟ้า ชีวมวล (52)
- PHA (52)
- sirnet (17)
Advertisements