เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2558
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหาร ออกตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการนำนโยบาย “ทีมหมอประจำครอบครัว” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ระโนด จ.สงขลา ที่สำนักงานสาธารณสุข อ.ระโนด และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา โดยมี นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นพ.ธนิศ เสริมแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมต้อนรับ
ด้าน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง รวมถึงสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนตลอดช่วงชีวิต หรือทุกกลุ่มวัย และสนับสนุนการพัฒนาทีมหมอประจำครอบครัว (Family care team) เพื่อดูแลประชาชนทุกครัวเรือนในเขตชนบท ซึ่งในการตรวจเยี่ยมเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ระโนด ในครั้งนี้ พบว่ามีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ เกิดเป็นนวัตกรรมการจัดบริการสุขภาพ “ระโนดโมเดล” ที่ผสมผสานด้านการเยี่ยมบ้าน ทำให้สามารถเยี่ยมบ้านได้ครอบคลุมประชาชน ผู้รับบริการทุกกลุ่มวัย โดยมีทีมหมอประจำครอบครัวร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพให้การสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนผู้รับบริการและครอบครัว ให้สามารถดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ให้หายจากความเจ็บป่วยกลับคืนสู่ภาวะปกติ มีสุขภาพดีหรือใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด
ที่สำคัญมีการนำโปรแกรมการจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ ไปพัฒนาต่อยอดจนเป็นนวัตกรรมการจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริการของ อ.ระโนด โดยใช้ชื่อ J-Map และ J-Print ซึ่งนำมาใช้ในการจัดการระบบเยี่ยมบ้านที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล เกิดความสะดวกในการควบคุมกำกับ และติดตามผลการดำเนินงาน
ซึ่งโปรแกรม J-Map สามารถแสดงผลในรูปแบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเห็นพิกัดของหลังคาเรือน และลักษณะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมายที่ลงไปเยี่ยมบ้าน และยังใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงานความครอบคลุมการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เป็นต้น ส่วนการใช้โปรแกรม J-Print ทำให้เกิดความรวดเร็ว และถูกต้องในการพิมพ์ใบสั่งยา และ ฉลากยา แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ นอกจากนั้นยังสามารถพิมพ์รายละเอียดการเยี่ยมบ้าน เพื่อนำไปติดในแฟ้มครอบครัว เพื่อประโยชน์ในการจัดบริการแก่ประชาชนในครั้งต่อไป
ทั้งนี้การใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการสุขภาพของอำเภอระโนด หรือ J-Map และ J-Print นั้น ได้เป็นต้นแบบที่ จ.สงขลา ได้ส่งเสริมให้ใช้ในทุกสถานบริการสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ และปัจจุบันได้มีการขยายการส่งเสริมการใช้โปรแกรมดังกล่าวในทุกจังหวัดของเขตบริการสุขภาพที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล ตรัง พัทลุง และสงขลา.
หมวดหมู่
- คสช. (61)
- งานส่งเสริมสิทธิ (228)
- จักรยาน (2)
- ทั่วไป (447)
- ธรรมนูญสุขภาพ (1,167)
- 3 กองทุนสุขภาพ (179)
- การเข้าถึงยา (202)
- กำลังคน (257)
- ธรรมนูญพื้นที่ (11)
- บีโอไอ (7)
- ระบบประกันสุขภาพ (300)
- แพทย์แผนไทย ยาไทย (54)
- FTA (26)
- Medical Hub (83)
- ปฏิรูปประเทศไทย (129)
- ระบบสุขภาพ (48)
- สช.เจาะประเด็น (10)
- เขตสุขภาพ (77)
- แถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 (9)
- HA (1,591)
- 1 ทศวรรษสมัชชา (16)
- การจัดการน้ำ (39)
- ความเหลื่อมล้ำ (6)
- จักรยาน (3)
- ฉลากขนม (39)
- ตรวจสุุขภาพ (25)
- ท้องไม่พร้อม (88)
- นาโนเทคโนโลยี (3)
- นโยบายนักการเมือง (25)
- บุหรี่/ยาสูบ/เหล้า (128)
- ประชุมสมัชชาฯปี55 (20)
- ประธานคจ.สช. (25)
- พรบ.คุ้มครองฯ (71)
- ภัยพิบัติ (50)
- ยาฆ่าแมลง (40)
- หมอกควัน (4)
- อาหารปลอดภัย (76)
- อ้วน/น้ำหนักเกิน (21)
- เด็กเล็ก (57)
- แถลงข่าว NHA 55 ประเด็น สวล. (1)
- แรงงานนอกระบบ (89)
- แร่ใยหิน (409)
- แถลงข่าว_แกรนด์ไชน่า (13)
- NHA57 (30)
- HIA (323)
- ถ่านหิน (36)
- มาบตาพุด (25)
- หวยออนไลน์ (1)
- อาเซียน (3)
- อุตสาหกรรมขยะของเสีย (18)
- เหมืองทองคำที่เลย (12)
- เหมืองแร่เลย (36)
- แผนพัฒนาภาคตะวันออก (2)
- โรงไฟฟ้า ชีวมวล (52)
- PHA (52)
- sirnet (17)