ปัดฝุ่น30บาทรักษามีศักดิ์ศรี ปูไม่รวม3กองทุนสุขภาพ

คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

นายกฯ ลั่น ไม่รวม 3 กองทุนสุขภาพ เล็งเก็บ 30 บาทหลักประกันถ้วนหน้า ชี้รักษาอย่างมีศักดิ์ศรี ลดความเหลื่อมล้ำ เริ่ม 1 เม.ย. “ฉุกเฉิน” โชว์บัตรประชาชนรักษาฟรี

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายรัฐบาลต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ภายในการประชุมวิชาการ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในทศวรรษที่สอง” ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) องค์การอนามันโลก และภาคีเครือข่ายว่า รัฐบาลอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี และมีระบบการดูแลประชาชนเฉพาะที่ปลายทาง คือการรักษาเท่านั้น ซึ่งการเก็บ 30 บาทต่อครั้ง ในการเข้ารับบริการการรักษาพยาบาลเหมือนเช่นในอดีต เป็นการเสดงว่าประชาชนซื้อบริการการรักษาพยาบาลจากรัฐ ไม่ใช่การมารับการสงเคราะห์ จะทำให้มุมมองในการดูแลประชาชนและการเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยเป็นไปในอีกแง่มุม หนึ่ง

“ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการรักษาอย่างสมศักดิ์ศรี โดยเจ้าหน้าที่ไม่คำนึงว่าผู้ป่วยเป็นใครนอกจากคำว่าเขาคือคนไทย โดยทีผ่านมารับบบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยฝห้คนไทยเข้าถึงบริการมากขึ้นจากใช้บริการ 112 ล้านครั้งในปี 2547 เพิ่มเป็น 153 ล้านครั้งในปี 2553 และส่งผลให้จำนวนครัวเรือนนายกจนลดลงถึง 7.8 หมื่นครัวเรือนต่อปี” นายกรัฐมนตรีกล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในอีก 10 ปี ข้างหน้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะต่อยอดการพัฒนาให้ดีขึ้นใน 4 ประเด็นหลักได้แก่ 1.การพัฒนาการให้บริการแย่างต่อเนื่องเริ่มจากโครงการให้บริการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ โดยปรับให้ผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินสามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลใดก็ได้ โดยจะไม่มีการถามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย แต่ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว และไม่ต้องสำรองจ่าย เพราะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะทำหน้าที่ในการบริการค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น โดยจะเริ่มเปิดให้บริการระบบนี้ในวันที่ 1 เมษายน

นอกจากนี้ จะนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เช่นระบบเทเลเมดิซีน การให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์และการใช้สมาร์ทการ์ดในการเก็บข้อมูลประวัติ สุขภาพของคนไทย จะช่วยให้แพทย์ดูแลประชาชนได้เต็มที่ขึ้น เป็นต้น

“สำหรับ ประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลในเรื่องการรวม 3 กองทุนสุขภาพเป็นกองทุนเดียวนั้นดิฉันขอยืนยันว่าไม่มีการรวมกองทุนใดๆ ทั้งสิ้นทุกกองทุนจะยังต้องดูแลกองทุนของตัวเองต่อไป เพียงแต่จะต้องมีการบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 สิทธิการรักษาพยาบาล เพื่อให้เกิดบริการแบบทั่วถึง ต่อเนื่ อง และมีคุณภาพ” น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุ

และ ว่า 2.การควบคุมค่าใช้จ่ายระยะยาวโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของคนไทย ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียง 20% เท่านั้น จึงจำเป็นที่ทั้ง 3 กองทุนจะต้องบูรณาการร่วมกัน โดยการกำหนดราคากลางยาหรือรวมกันจัดซื้อยา แต่จะต้องไม่ลดคุณภาพของยา และนำเงินส่วนต่างที่เกิดขึ้นมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพยาต่อไป รวมถึงควบคุมการใช้ยาฟุ่มเฟือย แต่ไม่จำกัดการใช้ยาจำเป็น หากทำได้เช่นนี้จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว

3.การ ส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จะต้องเน้นเรื่องการสร้างสุขภาพที่ดีมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยจะจัดสร้างลานชุมชนสร้างสรรค์การออกกำลังกาย อาหารเพื่อสุขภาพ และสุขภาพแม่ตั้งครรภ์ โดยจะประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นบทบาทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการป้องกันโรค ให้ความรู้และการรักษาแก่ประชาชนในพื้นที่ และ 4.ประชาชนคนไทยควรจะมีหมอประจำครอบครัว โดยใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษา ซึ่งเบื้องต้นอาจจะเริ่มจากการที่แพทย์ให้คำปรึกษาระบบออนไลน์ที่สถานพยาบาล แต่ในอนาคตที่ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกครัวเรือนอาจปรับให้ประชาชนขอคำ ปรึกษาแพทย์ได้จากที่บ้านตนเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลดจำนวนแพทย์ ยังอยากเห็น 1 แพทย์ 1 ตำบลกลับคืนมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังนายกรัฐมนตรีปาฐถาเสร็จ ได้มีตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกเพื่อให้มี การปฎิรูประบบหลักประกันสุขภาพให้บริการประชาชนด้วยคุณภาพและมาตรฐานเดียว ลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีที่จะไม่รวม 3 กองทุนสุขภาพ เนื่องจากดูจากสถานการณ์ในตอนนี้ไม่เหมาะที่จะรวมกองทุน แต่ควรดำเนินการในเรื่องบูรณาการ หรือประสมประสานทั้ง 3 กองทุน โดยเริ่มจากการให้บริการกรณีฉุกเฉินแบบไม่แยกกองทุนจากนั้นจะขยายต่อไปสู่ การให้บริการเรื่องโรคไตและเอชไอวีหรือเอดส์ต่อไป ส่วนแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำโดยไม่ต้องรวม 3 กองทุน คือ จะต้องทำให้สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในแต่ละสิทธิการรักษาพยาบาล เหมือนกันและอัตราการจ่ายค่าบริการให้อยู่ในอัตราเดียวกันเป็นต้น

น.ส.สุ รีรัตน์ ตรีมรรคา แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า แม้นายกรัฐมนตรีจะพูดชัดเจนว่าจะไม่รวม 3 กองทุน แต่ก็พูดชัดเจนเช่นกันว่า 3 กองทุนจะต้องมีการบูรณาการระบบร่วมกัน ซึ่งเห็นด้วยเพราะนั่นหมายความว่าจะต้องทำให้มาตรฐานการรักษาพยาบาลของผู้ ป่วยแต่ละสิทธิเป็นมาตรฐานเดียวกันและจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในเรื่อง การรักษาพยาบาลของคนไทย เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มก็ไม่ได้มองที่ว่าจะต้องมีการรวม 3 กองทุนแต่ขอให้มีการจัดบริการมาตรฐานเดียวและไม่มีความเหลื่อมล้ำเท่านั้น

วัน เดียวกัน นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายแรงงาน และเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 100 คน เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภาเพื่อยื่นหนังสื่อต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้เร่งรัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม เพื่อให้ทันสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยสาระสำคัญเป็นการเรียกร้องให้ขยายความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ให้ครอบ คลุมแรงงานให้ทุกกลุ่มอาชีพอย่างเท่าเทียม รวมทั้งสามารถใช้บัตรเพียงใบเดียวรักษาได้ทุกโงพยาบาล และขอให้ปฎิรูปโครงสร้างบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมให้โปร่งใสให้ขยาย สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเป็นเวลา 1 ปี รวมทั้งขอให้เพิ่มบทลงโทษกรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบไม่ครบด้วย

ขณะ เดียวกัน ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ให้ช่วยผลัดดันร่าง พ.ร.บ.ประกัยสังคม นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กฎหมายนี้ทำกันตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว และได้พยายามผลักดันแต่ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นจะกระตุ้นและเร่งรัด เพราะเรื่องนี้เป็นโครงสร้างในการดูแลประชาชนเป็นระบบอย่างแท้จริง

เกี่ยวกับ สช.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 หมู่ที่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 ประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2832-9000 โทรสาร 0-2832-9001-2 www.nationalhealth.or.th
เรื่องนี้ถูกเขียนใน 3 กองทุนสุขภาพ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร