ผนึกกำลังขับเคลื่อน

ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น.พ.พงศ์เทพ วิวรร ธนะเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่า ที่ผ่านมาภาครัฐส่งเสริมให้ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในจังหวัดที่มีเศษวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ โดยเฉพาะซังข้าวโพด อ้างว่า เพื่อแก้ปัญหาหมอกควันจากการเผา เพื่อเตรียมเพาะปลูกในรอบต่อไป ถือเป็นการแก้ไขไม่ตรงจุด เป็นการซ้ำ เติมปัญหามลพิษมากกว่า เนื่องจาก โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก ไม่มีมาตรฐานและมาตรการดูแลผลกระทบจากกระบวนการเผาไหม้ ขณะที่เกษตรกรบางส่วนยังมีการเผาซังข้างโพด เพราะเป็นวิธีการที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด

Untitled12น.พ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเรื่อง การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นกับชุมชน และเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษเพื่อประโยชน์ของประชาชน

“ภายหลังจากมีมติคณะรัฐมนตรีออกมา ทาง สช.จะได้ประสานงานการทำงานกับหน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันนำมติคณะรัฐมนตรีนี้ไป ขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้เป็นกระบวนการ

พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง”

น.พ.อำพล กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญของประเทศและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน โดยมีมาตรการและแนวทางป้องกันสุขภาพ ที่ดี พิจารณาเรื่องสถานที่ตั้งให้เหมาะสม สอดคล้องกับผังเมืองและกำหนดระยะห่างระหว่างโรงไฟฟ้ากับชุมชน มีการดูแลผลกระทบจากโรงไฟฟ้าขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ที่ได้รับการยกเว้นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมลพิษต่ำ การกระจายอำนาจในการควบคุมดูแลโรงไฟฟ้า มีกลไกที่ให้ประชาชนในพื้นที่และชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

เกี่ยวกับ สช.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 หมู่ที่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 ประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2832-9000 โทรสาร 0-2832-9001-2 www.nationalhealth.or.th
เรื่องนี้ถูกเขียนใน โรงไฟฟ้า ชีวมวล และติดป้ายกำกับ , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร