รายงานพิเศษ: พลิกปูม “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ยุค คมช. ก่อนเปิดโฉม สนช. ในมือ “พล.อ.ประยุทธ์”

Untitled1

สยามรัฐ ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ชนิดา สระแก้ว/เรื่อง

นอกเหนือไปจากแผนการเดินหน้าสร้างความปรองดองสมานฉันท์ คืนความสุขให้คนในประเทศแล้ว ภารกิจที่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จะต้องขับเคลื่อนต่อไปจากนี้ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในด้านการบริหารจัดการมิติในด้านกฎหมาย โดยถือเป็นแผนในโรดแมปของคสช. ที่หลายคนกำลังจับตามากในเวลานี้ คือการผุด”สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” (สนช.) ขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณากฎหมายที่สำคัญๆ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึง “สภาปฏิรูป”โดย พล.อ.ประยุทธ์ ระบุเอาไว้ในการแถลงครั้งล่าสุดว่ามีขึ้นเพื่อเหตุผล”เพื่อแก้ไขในทุกเรื่อง ที่ทุกฝ่ายต้องการ” ซึ่งถือว่าอยู่ในโรดแมประยะที่ 2 ก่อนไปสู่การเลือกตั้งเมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นลง
มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจว่า มีบุคคลจากหลายกลุ่ม จากแวดวงต่างๆ มีชื่อได้รับการทาบทามจาก คสช.ให้เข้ามานั่งทำงานอยู่ในชุด สนช. หรือสภาปฏิรูป ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ กันบ้างแล้วแม้แต่สมาชิกวุฒิสภาเองที่มีข่าวว่า อาจจะได้เห็น ส.ว.สายสรรหาและสายเลือกตั้ง ที่เพิ่งถูกคำสั่ง คสช. ให้ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ได้มีโอกาสแวะเวียนเข้ามานั่งทำงานในสภาปฏิรูปกันบ้างจำนวนไม่น้อย
ทั้งนี้ขอย้อนกลับไปพลิกปูมถึงที่มาของสนช.ในยุคที่ถือกำเนิดขึ้นมา เมื่อภายหลัง”บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล”พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ โดยในครั้งนั้น คมช. เป็นผู้คัดสรรผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ใน สนช.
ภายหลังจากที่ พล.อ.สนธิ ทำการยึดอำนาจเสร็จสิ้นลง จนเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “19 กันยา 49” คณะรัฐประหารได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2549 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุคนั้นได้มาโดย มาตรา5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)2549 นั่นเอง
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งสิ้น 250 คน โดย พล.อ.สนธิ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการอย่างไรก็ตาม สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 11 ต.ค.-22 ธ.ค. พ.ศ.2550และสิ้นสุดหน้าที่ลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อ 23 ธ.ค. 2550 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 โดยมี”มีชัย ฤชุพันธุ์”เป็นประธานสภา สนช. ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2549-วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2551
ทั้งนี้ สนช.ปี 49 ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือเทียบเท่า จำนวน 17 คน อาทิ คุณหญิงกษมาวรวรรณ ณ อยุธยา, คุณพรทิพย์ จาละ,พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล, อำพน กิตติอำพน
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ จำนวน 12 คน อาทิ นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ นายจุทาธวัช อินทรสุขศรี นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
ข้าราชการทหารจำนวน 35 คนอาทิ พล.ต.คณิต สาพิทักษ์, พล.อ.อ.ชาลีจันทร์เรือง, พล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ,พล.ท.ประยุทธ์จันทร์โอชา,พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, พล.ท.สุเจตน์ วัฒนสุข
ข้าราชการตำรวจจำนวน 7 คน ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8 คน
ธุรกิจ ธนาคาร และสถาบันการเงิน จำนวน 6 คน คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม, ชาติศิริ โสภณพนิช ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมบริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 19 คนชนินทธ์ โทณวณิก, ณรงค์ โชควัฒนา, ดิลก มหาดำรงค์กุล,ประมนต์ สุธีวงศ์, วีรพงษ์ รามางกูร
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจทั่วไป จำนวน 11 คน อาทิ ณรงค์ชัยอัครเศรณี, วีระชัย ตันติกุล, ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
ส่วนที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ จำนวน 7 คนรวมไปถึงนักวิชาการด้านปรัชญา ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จำนวน 11 คน
สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน จำนวน 20 คนข้าราชการบำนาญผู้มีประสบการณ์ด้านต่างๆ จำนวน 43 คน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, น.ต.ประสงค์สุ่นศิริ, พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์, พล.อ.อู้ด เบื้องบน
การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ จำนวน 13 คน อาทิ โคทม อารียา(ประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ) ตวง อันทะไชย(ภาคอีสาน) เตือนใจ ดีเทศน์ (ภาคเหนือ) วัลลภ ตังคณานุรักษ์(ภาคกลาง) โสภณ สุภาพงษ์ (การพัฒนาท้องถิ่น)
และสุดท้ายอธิการบดี อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่างๆ และจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 29 คน อาทิ ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ทวี สุรฤทธิกุล, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ร.ต.อ.ปุระชัยเปี่ยมสมบูรณ์, สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, สังศิต พิริยะรังสรรค์(อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม),สุจิต บุญบงการ,สุรพลนิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), สุริชัย หวันแก้ว,อัมมาร สยามวาลา
โดยสิ่งที่ สนช.ชุดปี 49 ฝากไว้คือ ผลงานด้านนิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมีการตราพระราชบัญญัติที่สำคัญ 215 ฉบับ
แบ่งตามผู้เสนอ ดังนี้
1.พระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ จำนวน 148 ฉบับ
2.พระราชบัญญัติที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอ จำนวน 16 ฉบับ
3.พระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอ จำนวน 46 ฉบับ
4.พระราชบัญญัติที่ศาลฎีกาเป็นผู้เสนอจำนวน 4 ฉบับ
5.พระราชบัญญัติที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ จำนวน 1 ฉบับ เช่นพระราช บัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
6.พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ พ.ศ.2550
7.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
8.พระราชบัญญัติระเบียบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
9.พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทบริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน พ.ศ. 2549
10.พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนสินค้า ลงวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ.2550
11.พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารทรัพย์สิน พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ฉะนั้นต้องรอจับตาดูการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติปี 2557 ยุค “พล.อ.ประยุทธ์” จะมีโฉมหน้าเป็นอย่างไร จะมีคนเก่าส.ว.สรรหาหน้าเก่าลอยลำเข้ามาได้หรือไม่ ต้องจับตาดู.. !

เกี่ยวกับ สช.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 หมู่ที่ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 ประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2832-9000 โทรสาร 0-2832-9001-2 www.nationalhealth.or.th
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร